9วิธีขับรถขึ้นลงเขาด้วยเกียร์ออโต้

Share this article

การขับรถขึ้นลงเขาที่มีทั้งความชันและความโค้ง จะมีความแตกต่างจากการขับรถบนท้องถนนทั่วไปอย่างไรกับ 9วิธีขับรถขึ้นลงเขาด้วยเกียร์ออโต้ วีโคสรุปมาจากการอ่านและประสบการณ์ตรงที่เคยขับมาเล่าให้ฟังกันครับ

หลังจากได้ประสบการณ์จากการขับรถขึ้นลงเขา เลยต้องมาสรุปเพื่อแชร์กันสักหน่อย ในขณะที่ขับรถขึ้นเขามีรถคันอื่นเสียระหว่างทางและมีรถไปถึงที่จุดหมายแต่เปิดกระโปรงรถระบายความร้อนกันใหญ่ แต่สิ่งที่เราได้คือประสบการณ์ ฮา ฮา ฮ่า

  1. ขับรถด้วยเกียร์ต่ำ หากเราขับรถขึ้นหรือลงเขา แล้วเริ่มรู้สึกว่ารถไม่ค่อยเกาะถนน รู้สึกว่าขับแล้วรถมันร่อนๆ อาจเป็นไปได้ว่า ต้องเริ่มเปลี่ยนเกียร์ให้ต่ำลง เพื่อให้ล้อรถไต่ถนนขึ้นเขา เวลาขับจะรู้สึกว่ารถเริ่มเกาะถนนแล้ว อันนี้คือใช้ความรู้สึกสัมผัส แต่บางท่านอาจบอกว่าสัมผัสไม่ได้ การที่รถจะเคลื่อนที่ขึ้นเขาหรือลงเขาได้ดี ต้องใช้เกียร์ต่ำ
  2. หากเราขับรถขึ้นเขา ให้สังเกตความชันของเขา แล้วลองสับเกียร์ลดลงที่ละขั้นแล้วลองสังเกตดูเป็นอย่างไร
  3. หากขับรถลงเขา รถจะเพิ่มความเร็วเนื่องจากค่าโน้มถ่วงโลก ประมาณ 10 เมตรต่อวินาที การใช้เกียร์ต่ำจะทำให้ ความเร็วลดลง เหมือนเราขี่จักรยานเสือภูเขา เวลาใช้เกียร์ต่ำ เราปั่นหมุนหลายรอบ แต่ล้อจักรยานจะหมุนรอบน้อยกว่า ดังนั้น ถ้ารถเคลื่อนลงจากเขา แล้วเราใช้เกียร์ D รถจะยิ่งเร็วขึ้น เพราะมีกำลังเคลื่อนของรถ บวกกับแรงโน้มถ่วงโลกและความชันของเขา ทำให้รถเคลื่อนที่เร็วมากขึ้น มีผลทำให้ต้องเหยียบเบรกตลอด ผลคือผ้าเบรกไหม้ การสึกหรอของผ้าเบรกมากตามไปด้วย วิธีที่ถูก คือใช้เกียร์ต่ำๆ เหมือนรถลงเขาความเร็วเพิ่มแต่รถเคลื่อนที่ไม่เร็วเท่าแบบแรก ยังผลให้ใช้เบรกน้อยกว่า ควบคุมรถได้มากกว่า
  4. เวลาขับรถขึ้นหรือลงเขาที่มีความชัน ต้องเว้นระยะห่างระหว่างรถคันหน้าให้มากขึ้น เนื่องจากความชันจะทำให้รถเคลื่อนที่เร็วขึ้นในบางจังหวะจะได้สามารถหยุดรถทัน หากเกิดกรณีฉุกเฉินใดๆ
  5. การใช้เบรก ตอนลงจากเขาเริ่มใช้เกียร์ต่ำจากนั้นเมื่อรถเคลื่อนที่เร็วมากขึ้นเนื่องจากความชัน ให้แตะเบรกเบาๆเป็นระยะๆเพื่อลดความเร็ว ไม่ควรเหยียบเบรกค้างนานๆ เพราะอาจทำให้เบรกไหม้ หรือ เบรกแตกจนทำให้ควบคุมรถไม่อยู่ ส่งผลให้เกิดอุบัตเหตุได้ คำแนะนำสั้นๆ “ลงเขาชันๆใช้เกียร์ต่ำ แตะเบรกเบาๆเป็นจังหวะลดความเร็วและก่อนเข้าโค้ง”
  6. ความเร็วรถน่าจะอยู่ในช่วง 40-60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  7. ตอนขึ้นเขาให้เหยียบคันเร่งตามจังหวะของความชัน โดยรักษาความเร็วรอบ 2000-3500
  8. ในกรณีถนนเป็นสองเลน แบบสวนทางกัน การเข้าโค้งหักศอก หรือ โค้งมากๆ ให้ลดความเร็วรถลงแล้วพยายามอย่าขับรถล้ำเส้นถนนเพราะอาจมีรถสวนทางมา แล้วมองไม่เห็นอาจเฉี่ยวชนได้ หากมีความจำเป็นจริงๆเนื่องจากถนนซ่อมแซมทำให้ต้องขับล้ำเส้นในทางโค้ง ให้ใช้แตรเป็นสัญญาณบอกรถอีกฝั่งและลดความเร็วรถลงอีก
  9. ไม่ควรขับรถแซง โดยเฉพาะทางโค้ง เช่น ทางโค้งหักศอก ทางที่โค้งมากๆ แบบที่ไม่เห็นทางข้างหน้า หรือ มีรถใหญ่อยู่ด้านหน้าแล้วรถปิดการมองเห็นถนนข้างหน้า คำแนะนำคือ ทำใจเย็นๆ เว้นระยะห่างให้พอเหมาะถือโอกาสแวะชมวิวทิวทัศน์ไปก่อน

คำแนะนำเพิ่มเติม

  • กรณีเครื่องยนต์เล็ก รถไม่ค่อยมีแรง ให้ทำการปิดแอร์ ปิดเครื่องเสียง ปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าต่อพ่วงต่างๆ เพื่อให้แรงทั้งหมดไปรวมที่เครื่องยนต์
  • ขั้นตอนการใช้เบรกมือที่ถูกต้อง เวลาจอดรถในที่ชันให้ดึงเบรกมือด้วย โดยการดึงเบรกมือไม่ต้องกดปุ่มจะมีเสียงดังแก๊กๆๆจนสุด เวลาปลดเบรกมือให้ยกขึ้นเล็กน้อยแล้วกดปุ่มลงจากนั้นค่อยกดลง ถ้าไม่ยกขึ้นเล็กน้อยจะกดปุ่มไม่ลงเพราะแข็ง สังเกตไฟสถานะเบรกมือที่หน้าปัดรถด้วย บางครั้งดึงหรือปลดเบรกมือไม่สุด
  • ขั้นตอนการจอด เหยียบเบรกจนกระทั่งรถหยุดนิ่งเข้าเกียร์ N จากนั้นดึงเบรกมือขึ้นโดยไม่ต้องกดปุ่มจะมีเสียงแก๊กๆๆ สังเกตไฟหน้าปัดมีเครื่องหมายเบรกมือขึ้น จากนั้นสับเป็นเกียร์ P

9วิธีขับรถขึ้นลงเขาด้วยเกียร์ออโต้ หลายวิธีจะเข้าใจมากขึ้นถ้าลองไปฝึกภาคปฎิบัติกันดู ขอให้ทริปการท่องเที่ยวขับรถขึ้นลงเขา ปลอดภัยและเดินทางกันโดยสะดวกนะครับ 🙂

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความอ้างอิง

 1,250 total views,  1 views today