ประมูลทรัพย์จากกรมบังคับคดี

Share this article

ไหนๆเป็นนักลงุทนทั้งที ต้องไปลองสักหน่อย ประมูลทรัพย์จากกรมบังคับคดี จริงๆเคยได้ยินได้ฟังมาบ้างและก็สนใจด้วยกับการประมูลทรัพย์สินจากกรมบังคับคดี แต่เอาเข้าจริงแล้วก็ไม่ได้ลองไปประมูลสักที รอบนี้ได้ลองของจริงเพราะไปค้นหาทรัพย์แล้วน่าสนใจเอาซะหน่อยละกัน ก่อนอื่นต้องไปดูทรัพย์ที่เราสนใจกันจริงๆ ซึ่งเวลาเราไปดูบ้านตัวจริง ถ้าหมู่บ้านหรูๆหน่อย ก็จะเข้ายากสักหน่อย รอบนี้เราไปดูบ้าน 2 หลังในหมู่บ้านแห่งนึง ซึ่ง 1 หลังไม่มีผู้อยู่อาศัย อีก1หลังมีผู้อยู่อาศัย จริงๆเราอยากเข้าไปดูทั้ง 2 หล้ง โดยการแลกบัตรจากนั้นเอาใบไปประทับตราที่นิติบุคคลหมู่บ้าน จากนั้นเราก็ไปดูบ้านที่ไม่มีคนอยู่ก่อน เมื่อดูเสร็จ หัวหน้า รปภ ก็มาหาบอกอีกหลังไม่ให้ดูเจ้าของบอกไว้ เราเลยไม่ได้ดูอีกหลัง จริงๆแล้วบ้านทั้ง2หลังถูกยึดแล้ว แต่หลังนึงไม่มีคนอยู่เราก็ดูได้เพียงด้านนอกที่มีต้นไม้ปกคลุม ส่วนอีกหลังตามหลักเราก็ควรจะดูได้ แต่ คนอยู่อาศัยแจ้ง รปภ ห้ามไว้ แต่ก็พอเข้าใจได้ว่า นิติบุคคลและ รปภ น่าจะไม่ทราบว่าบ้านหลังนี้ถูกยึดและทำการประกาศขายทอดตลาดแล้ว นี้แค่ไปดูทรัพย์ตัวจริงยังได้ประสบการณ์มาเลย ฮา

ประมูลทรัพย์จากกรมบังคับคดี

เมื่อดูทรัพย์ตัวจริงเสร็จ เราก็ทำการศึกษาเอกสารและเงินมัดจำในการเข้าประมูลทรัพย์ ว่าต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง ใช้เงินเท่าไหร่ จริงๆมันก็ไม่ได้ยากอะไรหากเราเป็นผู้ซื้อ มีเงินพร้อมจ่าย แต่เอาเข้าจริง บ้านที่เราจะซื้อมันมีมูลค่าเป็นหลักหลายล้านบาท ก็จะต้องขอสินเชื่อธนาคารด้วย และเงินวางมัดจำก็ประมาณ5% ของทรัพย์สินที่ต้องการประมูล เงินวางดังกล่าว จะใช้เป็นเงินสด หรือ แคชเชียร์เช็ค หรือ บัตรเดบิตที่มีเงินในบัญชี หรือ บัตรเครดิตก็ได้ แต่ถ้าเป็นบัตรเครดิตจะเสีย 3% ซึ่งรอบนี้เราใช้เงินสด ค่อนข้างยุ่งยากซักหน่อยเพราะเงินจำนวนมาก ต้องไปถอน แล้วเอามานับ ตอนเอาไปวางหลักประกันก็ต้องตรวจสอบ ถ้าประมูลไม่ได้ได้รับเงินคืน ก็กลัวไม่ครบตกหล่นจะนั่งนับก็ต้องใช้เวลา เพราะเงินเป็นหลักแสนบาทเลยทีเดียว ดังนั้นดีสุดน่าจะเป็น บัตรเดบิต แต่ ผมก็ไม่มีนะสิ บัตรเดบิตมีค่าธรรมเนียมรายปีอีก แต่สะดวกที่เราโอนเงินเข้าบัญชีที่ผูกไว้กับบัตรเดบิต ตอนวางเงินประกันก็จะกันยอดเงินในบัญชี ซึ่งน่าจะสะดวกกว่าการถือเงินสดมากๆ เอาไว้ไปประมูลบ่อยจะทำบัตรเดบิตไว้สักใบ ค่าธรรมเนียมประมาณปีละ 200-300 บาทนี้ละ

ประมูลทรัพย์จากกรมบังคับคดี

เอกสารการเข้าประมูล ถ้าซื้อเองก็บัตรประชาชน และ เงินวางหลักประกันตามที่กำหนด โดยดูจากทรัพย์ที่เราต้องการจะประมูล แต่ถ้าเป็นผู้รับมอบอำนาจก็ต้องมีหนังสือรับมอบอำนาจ ติดอากรสแตมป์30บาท มีสำเนาบัตรประชาชนทั้งผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ เอกสารการเข้าประมูลก็ต้องเตรียมมาให้ครบถ้วนให้พร้อมเข้าประมูล ไม่งั้นเอกสารไม่ครบจะไปเสียเที่ยวเปล่าๆ ถ้าเป็นนิติบุคคลต้องลองศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจากเอกสารขั้นตอนการเข้าประมูลทรัพย์หรือสอบถามกับกรมบังคับคดีเอาโดยตรงน่าจะดีกว่าเพราะมีรายละเอียดเยอะอยู่

เมื่อไปถึงที่กรมบังคับคดีก็ทำตรวจสอบทรัพย์ที่เราต้องการจะประมูลว่ามีการประมูลวันนี้ไหม จากนั้นก็กรอกเอกสารเพื่อลงทะเบียน เริ่มจากการตรวจสอบประวัติบุคคลว่าเป็นบุคคลล้มละลายเหรอไม่ เมื่อผ่านขั้นตอนนี้เรียบร้อยแล้ว ขั้นต่อมาก็ทำการวางเงินหลักประกันตามจำนวนเงินที่ระบุไว้ในเงื่อนไขการประมูลทรัพย์ จากนั้นเราจะได้ที่ป้ายประมูลซึ่งเป็นเลขที่ประจำตัวเรา เช่น 188 เวลาประมูลจะได้ยกเพื่อเสนอซื้อตามราคาที่เจ้าหน้าที่แจ้ง ก่อนเริ่มประมูลแนะนำให้ทำการศึกษาทรัพย์ที่เราต้องการจะประมูลให้ดี อ่านรายละเอียดและศึกษาเงื่อนไข ภาพทรัพย์ที่เราสนใจ ราคาเริ่มต้น ราคาเพิ่มขึ้นต่อการยก1ครั้ง เลขที่ทรัพย์และรายละเอียดเพิ่มเติมก่อนเริ่มทำการทำการประมูล เพราะตอนประมูลมันเร็วมาก ดูทรัพย์ให้แน่ใจจะได้ไม่พลาด

ประมูลทรัพย์จากกรมบังคับคดี

เมื่อทำการประมูล เจ้าหน้าที่จะทำการอ่านรายละเอียดทรัพย์ที่ต้องการประมูลก่อน จากนั้นระบบจะนับถอยหลัง 5-4-3-2-1 ให้ผู้ประมูลที่สนใจยกป้ายประมูลเพื่อรับขอเสนอ ราคาเริ่มต้น จากนั้นถ้ามีนักลงทุนรายอื่นยกป้ายแข่ง ราคาทรัพย์จะเพิ่มตามที่กำหนด ตัวอย่างเช่น บ้านราคา 3 ล้านบาท ยกป้ายขอสู้ราคา 1 ครั้งก็เพิ่มครั้งละ 50,000 บาท ไปเรื่อยๆจนกว่าจะได้ราคาสูงสุดและไม่มีนักลงทุนรายอื่นยกป้ายสู้ราคาอีก เจ้าหน้าที่จะยืนยันราคา3ครั้ง จากนั้นใช้ค้อนไม้ทุบโต๊ะ เป็นการจบราคาทรัพย์และได้ผู้ซื้อตามราคานั้น

ประมูลทรัพย์ จากกรมบังคับคดี

เมื่อประมูลได้ทรัพย์เจ้าหน้าที่จะเก็บป้ายประมูลไป เพื่อเตรียมเอกสารสัญญาซื้อขายทรัพย์ต่อไป และป้ายประมูลนั้นถือว่าเป็นการวางเงินหลักประกันประมาณ 5% ของมูลค่าทรัพย์ซึ่งนักลงทุนรายอื่นที่ประมูลทรัพย์ไม่สำเร็จเมื่อจบการประมูลก็เอาป้ายประมูลไปขอรับเงินคืนจากเจ้าหน้าที่เป็นอันเสร็จเรียบร้อย

สรุป วีโคไปประมูลทรัพย์กับกรมบังคับคดี ครั้งนี้ก็รู้สึกตื่นเต้นเพราะเป็นครั้งแรกและมูลค่าทรัพย์ที่ไปประมูลเป็นหลักหลายล้านบาทอยู่ แต่ก็สนุกดีได้ยกป้ายประมูลรัวๆแข่งกับบริษัทจัดการสินทรัพย์เจ้าใหญ่แห่งนึง ถือเป็นประสบการณ์การประมูลทรัพย์และคิดว่าเราน่าจะหาทรัพย์ดีๆได้จากที่นี่ แต่ก็ไม่ง่ายซะทีเดียว เพราะทรัพย์ส่วนมากเจ้าของเดิมยังคงอยู่ ถ้าได้กรรมสิทธิ์มาแล้วต้องไปทำการเจรจาและฟ้องศาลเพื่อขับไล่ต่อไป รวมทั้งต้องมาประมูลสู้ราคากับเจ้าตลาดที่ทำธุรกิจด้านนี้โดยเฉพาะอีกด้วย

 815 total views,  1 views today