สังคมไร้เงินสด Cashless Society

Share this article

สังคมไร้เงินสด Cashless Society

สังคมไร้เงินสด Cashless Society พูดให้เข้าใจง่ายๆก็คือ ไม่ต้องใช้เงินสด เพียงเราพกสมาร์ทโฟนออกไปนอกบ้าน โดยไม่ต้องพกแม้แต่กระเป๋าตังค์ออกไปด้วย เราก็สามารถมีชีวิตรอดได้ เพราะทุกสิ่งทุกอย่างไม่ต้องใช้เงินสด เพียงใช้สมาร์ทโฟนในการจ่ายเงินค่าสินค้าและบริการต่างๆได้โดยสะดวก คราวนี้เรามาพูดถึงเมืองไทยกันบ้าง จากประสบการณ์ของวีโคในการใช้ การจ่ายเงินผ่านแอพพลิเคชั่นในประเทศไทย มีอะไรบ้างที่เคยใช้ ยกตัวอย่างเช่น Samsung Pay, True Money, Dolfin, SCB แม่มณี, K-Plus, Bualuang m-banking, Airpay, ชิม ช้อป ใช้, Rabbit Line Pay, BluePay เท่าที่นึกออกแต่แอพที่ใช้มากสุดจะเป็น Samsung Pay รองลงมาจะเป็น True Money.

คราวนี้เราลองมาแยกประเภทหรือรูปแบบของการจ่ายเงินออนไลน์กันบ้าง

  1. กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-wallet) แบบต้องเติมเงิน ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นกระเป๋าเงิน คือต้องเติมเงินเข้าไปก่อนถึงจะสามารถใช้งานได้ คือต้องมีเงินในกระเป๋าอิเล็กทรอนิกส์ก่อน แล้วจึงจะใช้เงินในกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ได้ ตัวอย่าง True Money, Dolfin, Airpay, Rabbit Line Pay, ชิม ช้อป ใช้
  2. กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-wallet) แบบตัดเงินในบัญชีธนาคารโดยตรง รูปแบบการเงินแบบนี้จะเป็น ระบบการจ่ายเงินของธนาคารต่างๆ กล่าวคือเมื่อใช้จ่ายเงิน ระบบจะไปตัดเงินจากบัญชีธนาคารโดยตรง ตัวอย่าง SCB แม่มณี, K-Plus, Bualuang m-banking
  3. กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-wallet) แบบตัดเงินผ่านบัตรเครดิต คือเมื่อเราทำการจ่ายเงิน ระบบจะไปทำการตัดเงินผ่านบัตรเครดิต ตัวอย่าง Samsung Pay, True Money, Dolfin

เริ่มแรก ใช้ Samsung Pay มากสุดเนื่องจาก มีโปรโมชั่นได้แต้มทุกครั้งที่ใช้จาก Samsung แล้วเรายังได้แต้มจากบัตรเครดิตเหมือนได้ 2 เด้ง แต่มีข้อเสียตรงที่เวลาใช้ต้องเอาสมาร์ทโฟนของเราไปแนบหรือวางข้างๆเครื่องอ่านบัตรเครดิต ซึ่งลำบากและบางทีต้องส่งให้พนักงานเก็บเงินนำไปแนบ มีความเสี่ยงที่สมาร์ทโฟนจะหล่นได้ รวมทั้งบางครั้งก็ไม่สามารถจ่ายได้ และบางครั้งพนักงานก็ไม่มีความรู้ความเข้าใจด้วย

สถานที่ใช้ Sizzler, True Coffee, ฺBlack Canyon, Top Supermarket

ต่อมาแอพ TrueMoney สามารถใช้ในการจ่ายเงินโดยตัดผ่านบัตรเครดิตได้ ทำให้หลังๆเริ่มมาใช้ TrueMoney เพราะสะดวกกว่า เปิด QR Code ให้สแกนรวดเร็วกว่า และสมาร์ทโฟนอยู่ในมือเราเอง แต่มีข้อเสีย ตอนใช้งานแรกๆ แบบต้องเติมเงิน ต้องทำการ refresh โดยต้องออกไปแล้วเข้าหน้าแอพพลิเคชั่นใหม่ ถึงจะทำการจ่ายเงินได้ บางครั้งต้องสแกนสองครั้งถึงจะจ่ายได้

สถานที่ใช้ 7eleven, CP freshmart, Chester Grill พูดง่ายๆอยู่ในเครือ CP

ต่อมา Dolfin เริ่มแรกยังเป็นกระเป๋าเงินที่ต้องคอยเติมเงิน แล้วค่อยจ่าย ที่มาใช้เพราะโปรโมชั่น แต่มีข้อเสีย พนักงานไม่เข้าใจวิธีการและเคยใช้งานไม่ได้ เหมือนแอพพลิเคชั่นไม่สามารถติดต่อเครื่องแม่ข่าย และ บางครั้งรอนานกว่าจะตอบสนอง ทำให้มีบางครั้งใช้งานไม่ได้ พนักงานไม่ค่อยมีความรู้และบางทีพนักงานไม่อยากให้ใช้ด้วย จากประสบการณ์ แต่เป็นแอพตัวใหม่เพิ่งออกมาไม่นาน

สถานที่ใช้ Family mart, Top Supermarket พูดง่ายๆอยู่ในเครือเซ็นทรัล

พูดถึงเมืองไทย แล้วไปพูดถึงประเทศที่เป็นสังคมไร้เงินสดที่สมบูรณ์กันหน่อย นั่นคือ ประเทศจีน ในช่วงปีใหม่ 2020 วีโคไปท่องเที่ยวประเทศจีน 10 วัน ก็ได้ลองใช้แอพพลิเคชั่นในการจ่ายเงินแทน ทำตัวเป็นคนจีนแบบไม่ใช่เงินสด สิ่งที่ได้รับ สบายมากๆ ไม่ต้องพกเงินสด ไม่ต้องกลัวโจรมาขโมยเงิน ไม่ต้องกลัวเงินหาย ไม่ต้องนับเงิน ไม่ต้องรับและตรวจเงินทอน จะเป็นเศษเท่าไหร่ก็จ่ายได้สบายๆ ในแอพพลิเคชั่นสามารถแยกหมวดหมู่การใช้จ่ายได้ด้วย เหมือนทำบัญชีไปในตัว ซึ่งที่เมืองจีนมีที่นิยมเพียง 2 แอพคือ Alipay และ Wechatpay ทำให้ไม่งงเพราะมีไม่เยอะเหมือนเมืองไทย แต่คนต่างชาติที่เป็นนักท่องเที่ยวต้องใช้ลักษณะแบบเติมเงินถึงจะใช้จ่ายได้ คือเติมเงินก่อนแล้วนำเงินที่มีในแอพไปใช้ เพราะเราไม่สามารถเปิดบัญชีธนาคารในจีนได้ และมีแบบผูกกับบัตรเครดิตได้ด้วยแต่ไม่ได้ลอง เพราะน่าจะโดนส่วนต่างของอัตราแลกเปลี่ยนอีก เอาชัวร์เติมเงินก่อนเพราะจะรู้อัตราแลกเปลี่ยนที่เราได้น่าจะดีกว่า

สรุป

สังคมไร้เงินสด เมืองไทยอาจจะยากสักหน่อยเพราะมีแอพของหลายเจ้ามากเกินไป และแต่ละเจ้าก็มีเครือข่ายธุรกิจเป็นของตัวเอง แต่ก็มีข้อดีที่เราจะได้รับโปรโมชั่นของหลายที่ ได้ลองใช้แอพหลากหลายวิธี ก็ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่ได้เริ่มมีแอพจ่ายเงินหลายเจ้าให้เราได้ลองใช้กัน แต่ถ้าจะเป็นสังคมไร้เงินสดจริงๆคงต้องมีแค่ไม่กี่เจ้าที่เป็นเจ้าตลาด และเป็นแอพพลิเคชั่นที่น่าเชื่อถือ ใช้งานง่าย เวลาจ่ายพนักงานเก็บเงินก็เข้าใจวิธีการรับจ่ายเงิน รวมทั้งต้องติดต่อกับเครื่องแม่ข่ายเพื่อการประมวลผลได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูง

 

 

 2,696 total views,  1 views today